บริษัท ปังปอน จำกัด ยินดีให้บริการ
การจัดทำบัญชี
ตรวจสอบเอกสารและลงรายการบัญชี สมุดรายวัน
คำนวณพร้อมจัดทำ และนำส่งภาษีอากร ภงด.1, ภงด.3, ภงด.53
จัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.30 และประกันสังคม
สรุปงบการเงินประจำปี, สรุปงบดุลประจำปี, สรุปกำไรขาดทุนประจำปี
ให้คำปรึกษาขั้นตอนการทำเอกสารทางด้านการค้า
คอมพิวเตอร์
ออกแบบระบบเอกสารทางการค้า (ใบกำกับภาษี ลงแบบฟอร์ม)
วางระบบการตัดสต๊อคสินค้า (ซื้อมาขายไป,โรงงานผลิต,ต้นทุนผลิต)
วางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อควมคุม (การเงิน,บัญชี,คุมสินค้า)
แก้ไขปัญหาระบบคอมพิวเตอร์การใช้ซอฟท์แวร์ บัญชีสำเร็จรูป โปรแกรม Express (เอ็กซ์เพรส)
ด้านจดทะเบียน
จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัทจำกัด, ห้างหุ้นส่วนจำกัด, ร้านค้า
จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง เช่น ชื่อ, ที่อยู่, เพิ่ม, ลดสาขา, เลิกกิจการ
ขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี และจดทะเบียนขอเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
จดเข้าระบบประกันสังคม
ทำไมต้อง? สำนักงาน สัตยารักษ์ การบัญชี
ลดภาระในการควบคุมพนักงาน และบริหารงานด้านบัญชี เช่น การลาออกของพนักงานบัญชี การขึ้นเงินเดือน รวมทั้งการจ่ายโบนัสแก่พนักงานบัญชีเพื่อจูงใจ ในการทำงาน หรือ การจ่ายเงินเดือนสูง สำหรับพนักงานบัญชีที่มีความรู้ความสามารถด้านบัญชี และภาษีอากร
ได้งบการเงินที่ถูกต้อง และเชื่อถือได้ สะท้อนข้อเท็จจริงตามรายการค้า รวมถึงคำแนะนำในการดำเนินกิจการ และมีการจัดทำอย่างถูกต้องตามพรบ.การบัญชี และประมวลรัษฎากร
ประหยัดภาษีอากร และลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบ จัดทำ และยื่นแบบภาษีอากรได้อย่างถูกต้อง ทันต่อเวลา ไม่ต้องเสียค่าปรับ
บริษัท ปังปอน จำกัด ( สำนักงานใหญ่)
47/103 หมู่ที่ 9 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
โทรศัพท์ 02-964-9800, 081-931-8341
website: https://www.pangpond.com/
Email: 9622104@gmail.com
ตราประจำจังหวัดตราด สัญลักษณ์ประจำจังหวัด ตราประจำจังหวัด: รูปเรือใบแล่นในทะเลกับโป๊ะของชาวประมง เบื้องหลังเป็นเกาะช้าง หมายถึง จังหวัดตราดมีเกาะเป็นจำนวนมาก และเกาะที่ใหญ่ที่สุดเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปคือเกาะช้าง การที่มีพื้นที่ติดกับทะเล ราษฎรจึงยึดถือการประมงเป็นอาชีพหลักมาแต่โบราณ (เดิมจังหวัดตราดใช้ตราประจำจังหวัดเป็นรูปเรือรบหลวงตราด) ดอกไม้ประจำจังหวัด:ดอกกฤษณา (Eagle Wood) ต้นไม้ประจำจังหวัด: หูกวาง (Bengal Almond) คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา รับจดทะเบียนบริษัทตราด จดทะเบียนบริษัทตราด รับจดทะเบียนบริษัทจังหวัดตราด จดทะเบียนบริษัทจังหวัดตราด จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนตราด รับทำบัญชีตราด ทำบัญชีตราด รับวางระบบบัญชีตราด วางระบบบัญชีตราด รับตรวจสอบบัญชีตราด ตรวจสอบบัญชีตราด อำเภอเมืองตราด อำเภอคลองใหญ่ อำเภอเขาสมิง อำเภอบ่อไร่ อำเภอแหลมงอบ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง
บริษัท ปังปอน จำกัด ยินดีให้บริการ
รับจดทะเบียนบริษัท ในจังหวัดตราด ทั้ง 7 อำเภอ 38 ตำบล 361 หมู่บ้านแบ่งเป็น TRAT PROVINCE จังหวัดตราด (๑๐ อำเภอ)
๗๐.๑ Mueang Trat District อำเภอเมืองตราด
๗๐.๒ Bo Rai District อำเภอบ่อไร่
๗๐.๓ Khao Saming District อำเภอเขาสมิง
๗๐.๔ Khlong Yai District อำเภอคลองใหญ่
๗๐.๕ Ko Chang District อำเภอเกาะช้าง
๗๐.๖ Ko Kut District อำเภอเกาะกูด
๗๐.๗ Laem Ngop District อำเภอแหลมงอบ
เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา
ตราดเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เพราะเป็นที่ตั้งของเกาะที่สวยงามจำนวนมาก จนได้ชื่อว่าเป็น “เมืองเกาะครึ่งร้อย” โดยมีเกาะที่สำคัญที่สุดคือเกาะช้าง ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากเกาะภูเก็ต
นอกจากนี้ จังหวัดตราดยังมีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ มีการคมนาคมทางถนนที่สะดวกสบาย และมีสนามบินที่มีเที่ยวบินพาณิชย์ขึ้น-ลงเป็นประจำทุกวัน ทำให้เมืองแห่งนี้มีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยวสูง พร้อมที่จะพัฒนาไปเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญยิ่งขึ้นต่อไป
ชื่อเมืองตราดนั้น สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ซึ่งเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทำไม้กวาด ที่ในอดีตมีขึ้นอยู่รอบเมืองเป็นจำนวนมาก แต่พอถึงรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เมืองตราดก็มีอีกชื่อหนึ่งว่า “บ้านบางพระ” รวมทั้งมีการเรียกกันอีกชื่อว่า “เมืองทุ่งใหญ่” ดังปรากฏในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททองว่าเป็นหัวเมืองชายทะเลสังกัดฝ่ายการต่างประเทศ และเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง เนื่องจากในสมัยนั้น ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเลที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือสินค้า บริเวณชายฝั่งทะเลของเมืองตราดจึงมีชุมชนพ่อค้าชาวจีนตั้งอยู่
ในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ตราดมีบทบาทเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาค ได้ส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศหลายอย่าง โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่างๆ ซึ่งล้วนหามาได้จากเขตป่าชายฝั่งทะเลในแถบนี้ทั้งสิ้น
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในขณะดำรงตำแหน่งเป็นพระยาวชิรปราการ หรือพระยาตาก ได้นำกำลังพลตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาในสงครามเสียกรุงครั้งสุดท้ายมาทางทิศตะวันออก ได้ทรงเลือกตราดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารให้เมืองจันทบุรี อันเป็นเมืองที่ตั้งของกองกำลังกอบกู้เอกราช ก่อนเคลื่อนกองทัพออกทำสงครามกู้เอกราชจนสำเร็จ
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งต่อมาเวียงจันทน์หันไปสวามิภักดิ์กับญวน ไทยกับญวนจึงทำสงครามกันในปี พ.ศ. 2371 โดยมีเมืองตราดเป็นแหล่งกำลังพลและเสบียงอาหาร มีการตั้งป้อมค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตรา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประเทศฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดเมืองจันทบุรีในปี พ.ศ. 2436 และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. 2447 โดยแลกกับเมืองตราดและเกาะต่างๆ ตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง)
ต่อมารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย ด้วยพระปรีชาสามารถทางการปกครองและการทูตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญายกเมืองตราด เมืองด่านซ้าย (อยู่ในเขตจังหวัดเลย) และเกาะต่างๆ ตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูดคืนให้แก่ไทย โดยแลกกับดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ โดยทำสัญญากันในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพ ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทย ส่วนฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศส ได้กระทำพิธีส่งและรับมอบดินแดนกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนกำลังทหารออกไปในเวลาต่อมา ปัจจุบันชาวเมืองตราดได้ถือเอาวันที่ 23 ของทุกปีเป็นวัน “ตราดรำลึก”
ต่อมาวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 ในช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน เรือรบฝรั่งเศสได้ล่วงล้ำน่านน้ำไทยในเขตจังหวัดตราด กองเรือรบราชนาวีไทยจึงได้เข้าขัดขวาง จนเกิดการยิงต่อสู้กันซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “ยุทธนาวีที่เกาะช้าง” ครั้งนั้นฝ่ายไทยสามารถขับไล่ข้าศึกให้ล่าถอยไป และรักษาเมืองยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ไว้ได้ แต่ก็ต้องสูญเสียเรือรบหลวงไปถึง 3 ลำ คือ เรือรบหลวงสงขลา เรือรบหลวงชลบุรี และเรือรบหลวงธนบุรี รวมทั้งชีวิตทหารอีกจำนวนหนึ่ง
ปี พ.ศ. 2521 เกิดสงครามสู้รบครั้งใหญ่ในกัมพูชา ทำให้มีชาวเขมรจำนวนนับแสนหนีตายเข้ามาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด เส้นทางหลวงหมายเลข 318 ที่เริ่มจากตัวเมืองตราดเลียบขนานเทือกเขาบรรทัดและชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลองใหญ่ กลายเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ และเมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. 2529 เส้นทางสายนี้ก็ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณตลาดหาดเล็กที่สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกง
ปัจจุบันจังหวัดตราดแบ่งเขตการปกครองออกเป็น7 อำเภอ เช่น อำเภอเมืองตราด อำเภอคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง ฯลฯ